7 สัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณฉลาดกว่าที่ตัวเองคิด

อะไรบ้างที่คือความฉลาด?

ความฉลาดไม่ได้หมายถึงแค่การมีความรู้แต่เพียงเท่านั้น จริงๆ ในบางสถานการณ์เราอาจพูดได้ด้วยซ้ำว่าความฉลาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับหัวสมองหรือปริมาณไอคิว การแต่งตัวดูดีหรือการมีความมั่นใจสูง เพราะเราสามารถแบ่งความฉลาดออกมาได้หลายแง่มุมมากๆ

ความจริงที่เราเห็นได้บ่อยครั้งคือคนที่คิดว่าตัวเองฉลาดจะหลงอยู่กับห้วงความคิดนั้น จนการตั้งคำถามกับตัวเองกลายเป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยากเลยทีเดียว

เฮนรี่ ชาร์ลส์ บูคาวสกี้ นักเขียนชาวเยอรมัน เคยกล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า “ปัญหาอย่างหนึ่งของโลกเราก็คือคนที่มีความรู้มักกังขาในตนเอง ส่วนคนโง่มักเต็มไปด้วยความมั่นหน้า (The problem with the world is that the intelligent people are full of doubts, while the stupid ones are full of confidence)

ถ้าคุณถูกจัดให้อยู่ในหมวดแรก และกำลังกังขาในตัวเอง ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ว่าคุณยังดีไม่พอ แต่คุณคือคนฉลาดยังไงล่ะ หรือถ้าอยากเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง ลองดูว่าคุณมีสัญญาณเหล่านี้ในตัวบ้างหรือไม่ 

1. คุณมักทำรายการสิ่งที่ต้องทำให้ลุล่วงเสมอ

การทำรายการสิ่งที่ต้องทำบางทีมันก็ยากนะ แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะที่หลายๆ คนนอนจมกับความคิดที่ว่า อันนี้ก็ยังไม่เสร็จ อันนี้ก็ยังไม่เสร็จ และมีสิ่งที่ต้องทำมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะทำไงดี แต่กับคุณมันคือเรื่องง่ายๆ แค่โฟกัสไปทีละเรื่องๆ ไม่ใช่แค่จะทำให้เสร็จๆ ไป แล้วก็ภูมิใจกับผลงานเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้น

จากนั้นบางทีคุณก็จะจัดทำรายการ “ที่ทำเสร็จแล้ว” ไง้ด้วยเพราะคุณรู้ว่ามันจะช่วยกระตุ้นบางสิ่งในตัวคุณ ผลักดันให้คุณพยายามทำงานต่างๆ ให้ดีและดียิ่งๆ ขึ้นไป

2. คุณเข้าใจความหมายแฝงในแต่ละสถานการณ์

การจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นให้ได้อย่างราบรื่น การรู้จักบทสนทนาคือเรื่องสำคัญ แต่บางครั้งมันก็เป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าที่แต่ละคนพูดเขาหมายถึงอะไรอย่างไร โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ใช่คนที่สามารถพูดตรงๆ ได้

ทักษะทางการทูตและการเข้าหาผู้คนอย่างถูกต้อง กลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ และคุณก็พยายามทำความเข้าใจสิ่งเหล่านั้นอยู่เสมอ

แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ใช่คนที่จะเข้าใจในสิ่งที่ผู้คนจะสื่อเลย คุณก็สามารถฝึกได้ โดยการตั้งใจฟังในสิ่งที่คนอื่นพูด พยายามคิดหาบริบทที่ทำให้บทสนทนานี้เกิดขึ้น และถอดรหัสในสิ่งที่คนพูดแต่ไม่ได้จะสื่อโดยตรง ถ้าหากคุณพยายามเข้าใจสิ่งเหล่านี้ มันจะทำให้คุณได้เจอมุมมองใหม่ๆ และยังช่วยให้คุณโฟกัสกับรายละเอียดเล็กๆ น่อยๆ ที่บางทีคุณก็ไม่ได้สังเกตเลยที่ผ่านมา และจุดสูงสุดของทักษะนี้ก็คือการรับมือกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากต่างๆ ได้นั่นเอง

3. คุณไม่ใช่พวกเฮโลไปกับความคิดคนอื่น

การเอนเอียงไปกับความคิดเห็นผู้อื่นบางทีก็ไม่ใช่เรื่องผิด สะดวกสบายเพราะเราทำแค่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แถมไม่มีความเสี่ยงเพราะเราสามารถบอกได้ว่านั่นไม่ใช่เราเป็นคนต้นคิดนะ แต่นานๆ เข้ามันอาจจะทำให้คุณกลายเป็นคนเชื่อคนง่าย และเส้นแบ่งระหว่างความจริงกับความคิดเห็นจะเลือนลางขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าคุณเป็นประเภทที่ตั้งแง่ไว้ก่อน ไม่ว่าข้อความหรือความเชื่อเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม พยายามจะหาข้อมูลรองรับอยู่เสมอ นั่นคือสัญญาณที่ดีมากๆ ว่าคุณเป็นคนฉลาดจริงๆ 

ในภาพยนตร์เรื่อง World War Z มีตัวละครในเรื่องที่พูดถึงทฤษฎี “บุคคลที่ 10” ว่าด้วยหากในกลุ่ม 10 คนได้รับความเชื่อหนึ่งๆ มาแล้ว 9 คนเห็นด้วยและยอมรับ คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นบุคคลที่ 10 ที่จะไม่เชื่อพร้อมหาข้อมูลมาหักล้างเสมอ เพราะไม่ว่าคุณจะหักล้างความเชื่อนั้นได้หรือไม่ สุดท้ายคุณก็จะได้รับข้อมูลมากกว่าคนอื่นอยู่เสมอๆ

4. คุณเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น

หลายคนมักจะพูดว่าเราเคยผิดพลาดมาก่อน และเราควรจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองให้ได้ ซึ่งมันอาจเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะอีกครึ่งหนึ่งคือคุณควรทีจะพยายามเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่นด้วยเหมือนกัน

มันไม่ใช่การ ส. ใส่เกือกกับชีวิตผู้อื่น แต่มันคือการฝึกนิสัยช่างสังเกต การมองในมุมของบุคคลที่ 3 จะทำให้เราเห็นความผิดพลาดได้ง่ายกว่าความผิดพลาดในมุมมองบุคคลที่ 1 อย่างตัวเองเสมอ และเราก็สามารถคิดวิธีที่จะป้องกันความผิดพลาดนั้นก่อนที่มันจะเกิดขึ้นกับตัวเองได้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือเก็บข่้อมูงจากความลำบากของผู้อื่นนั่นเอง //ฮาา

5. รู้จักขอความช่วยเหลือ

let me help you

ไม่มีใครที่จะมีความรู้ในทุกสรรพสิ่ง และมีความสามารถเชี่ยวชาญในทุกๆ ด้าน แต่ในชีวิตจริงเรากลับสามารถเจอได้เป็นปกติกับคนที่ทำเป็น ‘เก่งไปซะทุกเรื่อง’ ซึ่งคนเหล่านี้จะมีอีโก้ในระดับที่ไม่กล้าขอความช่วยเหลือใดๆ แม้จะต้องการขนาดไหนก็ตาม

คนที่เก่งจริงๆ จะรู้ระดับและลิมิตของตัวเอง ไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือหรือถูกมองว่าโง่ เพราะพวกเขารู้ดีว่าเขาไม่ได้เก่งทุกอย่างจริงๆ แม้กระทั่งคนที่เก่งมากๆ ในสายงานหนึ่งๆ ก็ยังมองหาผู้คนที่พวกเขาสามารถสอนทักษะของตัวเองได้ เพราะไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน หากไม่ได้ใช้นานวันทักษะเหล่านั้นก็จะทื่อลงเรื่อยๆ และการส่งต่อความรู้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเรียนรู้ตัวเอง

6. คุณเรียนรู้ที่จะไม่เข้าไปอยู่ในการโต้เถียงที่ไร้ประโยชน์

จริงๆ นะบางคนชอบที่จะเป็นฝ่ายเหนือกว่าในทุกบริบท แทนที่เราจะพาตัวเองไปอยู่ในที่ๆ มีการพูดคุยเรื่องราวที่เป็นสาระหรือดีต่อสุขภาพจิต หลายคนก็เลือกที่จะเอาชนะในการโต้เถียงในทุกๆ เรื่อง (ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรนะ แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคนนั่นแหละ)

บางทีเราอาจไม่ต้องไปคำนึงถึงว่าเราเป็นคนฉลาดไหมหรือต้องไปสู่บอร์ดที่พูดคุยเรื่องสาระ แต่แค่การไม่เข้าไปโต้เถียงกับเรื่องไม่เป็นเรื่องก็จะไม่ทำให้สุขภาพจิตคุณแย่ลงแน่นอน โฟกัสแค่นี้ก็ได้แล้ว

7. คุณยอมรับจุดอ่อนของตนเอง

ไม่มีใครไม่มีจุดแข็งหรือจุดอ่อน แต่ในขณะที่หลายคนพยายามจะบอกว่าจะมีจุดอ่อนก็ไม่เป็นไร ภูมิใจกับจุดแข็งของตัวเองก็โอเคแล้ว มันอาจเป็นสัญญาณของการกลบปัญหาฝังพรมโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้นะ

ก่อนที่คุณจะกลายเป็นคนเก่งได้ คุณก็ต้องรู้ก่อนว่าคุณไม่เก่งอะไร และแทนที่จะไปเสียใจกับข้อเสียของตัวเอง ลองมองมุมกลับแล้วคิดว่าเราจะทำให้จุดๆ นั้นไม่กลายเป็นข้อเสียของเราได้ยังไง เริ่มจากข้อแรกสุด ไม่รู้สึกอายเมื่อพูดถึงข้อเสียนั้น เมื่อผ่านก้าวนี้ไปได้ ขั้นต่อไปก็จะเป็นเรื่องง่ายแล้ว

สรุป

คนเก่งหรีอฉลาดไม่ใช่คนที่มีความรู้เสมอไป และแม้แต่คนเก่งที่สุดก็ต้องมีจุดๆ หนึ่งที่รู้สึกด้อยกว่าผู้อื่น แต่การยอมรับและพัฒนา ฝึกทักษะตนเองไปเรื่อยๆ ก็เป็นสัญญาณสำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณก็เป็นคนฉลาดเหมือนกัน 

หรือจริงๆ แล้วโลกเราไม่มีคนโง่จริงๆ หรอก มีแค่คนที่มีความถนัดและมีชุดความรู้ไม่เหมือนกัน สำหรับคนที่ยังบอกกับตัวเองว่า ผมไง ไม่มีความรู้หรือทักษะอะไรเลยซักอย่าง นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่ใช่ว่าไม่มี แค่คุณยังหาไม่เจอเท่านั้นเอง