เลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์อย่างไรให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อการใช้งาน

เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเปิด – ปิด ระบบวงจรไฟฟ้า โดยออกแบบกเซอร์กิตเบรกเกอร์ หน้าที่ทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันทีเมื่อตรวจพบถึงความผิดปกติในระบบ หรือมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิน (Overload) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากกระแสไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟดูด เป็นต้น เแต่ก็มีบ่อยครั้งที่อุบัติเหตุหรือเพลิงไหม้มีสาเหตุมาจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นการเลือกติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทุกอาคารที่มีการใช้ไฟฟ้า บทความนี้ได้รวบรวมวิธีการเลือกซื้อเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานนั้นจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง 

วิธีการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงสำหรับการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าคือ ความปลอดภัย และจะต้องไม่มองข้ามมาตรฐานอุปกรณ์ ที่เป็นสิ่งการันตีในคุณภาพของวัสดุ โดยมาตรฐานของเบรกเกอร์ทั่วไปที่มักจะเห็นกัน ได้แก่ IEC60898 สำหรับเบรกเกอร์ใช้ในบ้านและที่พักอาศัยทั่วไป (พิกัดกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาดไม่เกิน 125A และพิกัดกระแสลัดวงจรไม่เกิน 25kA ) และ IEC60947-2 ซึ่งเป็นมาตรฐานเบรกเกอร์สำหรับอาคารขนาดใหญ่ อย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรม สามารถปรับแต่งและเลือกขนาดให้เหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ได้ โดยการเลือกเบรกเกอร์จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 

จำนวน Pole    

การใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์เซอร์กิตในเมืองไทยนั้นจะแบ่งออกหลักๆเลยคือ 

  • ใช้กับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Single phase) ซึ่งใช้ในบ้านและที่พักอาศัยทั่วไป เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB ควบคู่ไปกับตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต (Consumer Unit) 

  • ใช้กับระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย ที่นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ อย่าง อาคารพาณิชย์ และ โรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำไม่เกิน 690v ซึ่งในประเทศไทยมักจะใช้ อยู่ที่ 400v โดยจะเป็นเซอร์กิตแบบ Molded Case Circuit Breaker (MCCB) หรือ Air Circuit breaker (ACB) ที่จะใส่ในตู้สวิตช์บอร์ด MDB (Main Distribution Board) 

ซึ่งจำนวน Pole จะเป็นตัวบอกชนิดของระบบว่าเป็น แบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส ซึ่งแต่ละจำนวนสามารถบอกได้ดังนี้ 

  • 1 Pole หมายถึง เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ที่ใช้กันในบ้านและที่พักอาศัยทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้กับตู้คอนซูมเมอ ยูนิต ช่วยป้องกันเพียงแค่สาย line เท่านั้น 

  •  2 Pole หมายถึง เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ที่มักจะใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท มีทั้งแบบที่เป็น MCB และ MCCB ช่วยในการป้องกันสาย line และสาย neutral

  • 3 Pole หมายถึง เซอร์กิตเบรกเกอร์ 3 เฟส ซึ่งนิยมใช้ในอาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม จะช่วยป้องกันเพียงแค่สาย line เท่านั้น 

  • 4 Pole หมายถึง เซอร์กิตเบรกเกอร์ 3 เฟส ช่วยป้องกันสาย line และ neutral โดยการเลือกขนาดเบรกเกอร์ 3 เฟส แบบ 4 Pole จะสามารถป้องกันได้ทั้ง 4 เส้น หากมีความผิดปกติของระบบไฟฟ้า เหมาะกับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง

ค่าพิกัดกระแส (Breaking Capacity IC , Amp Trip AT , Amp Frame AF)

ค่าพิกัดจะช่วยบ่งชี้ความสามารถและขีดจำกัดในการใช้งานของเบรกเกอร์ ซึ่งค่าพิกัดจำเป็นที่ควรต้องรู้มีดังต่อไปนี้ 

  • IC (Interrupting Capacitive) เป็นพิกัดสูงสุดที่สามารถทนต่อกระแสลัดวงจรได้อย่างปลอดภัย โดยแสดงในหน่วยของ kA 
  • AT (Amp Trip) ขนาดของกระแสที่ใช้งาน ซึ่งจะบอกให้รู้ถึงความสามารถของเบรกเกอร์แต่ละตัวว่าสามารถทนต่อกระแสในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าไร
  • AF (Amp Frame) ขนาดการทนกระแสของเปลือกหุ้ม เป็นพิกัดการทนสูงสุดของเบรกเกอร์ตัวนั้น

ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (kA)

อาจมีบางคนยังสับสนว่า kA คือค่าอะไร… ค่า kA คือ ค่ากระแสที่เบรกเกอร์สามารถทนได้ เมื่อมีความผิดปกติในระบบไฟฟ้า โดยเบรกเกอร์จะทนได้ในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ซึ่งจะหน่วย 1,000 แอมป์ เช่น ค่า 10kA หมายถึง ค่ากระแสที่เบรกเกอร์สามารถทนได้คือ 10,000 แอมป์ ในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่เบรกเกอร์จะทริป 

ฟังก์ชันการใช้งาน

การแข่งขันในตลาดด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบันนั้นสูงมาก ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบให้มีความแตกต่าง รวมไปถึงขีดความสามารถในตัวอุปกรณ์ที่เป็นสินค้าของแบรนด์ ให้มีความโดดเด่น อย่างเช่น เบรกเกอร์ MCCB รุ่น Compact NSXm เป็นเบรกเกอร์กันไฟดูด Schneider รุ่นล่าสุดที่พัฒนามาจากรุ่น NSX ที่นอกจากจะมากไปด้วยประสิทธิภาพของฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น ฟังก์ชันการวัด (Metering) ฟังก์ชันการสื่อสาร (Communication) ฯลฯ แต่ยังถูกออกแบบให้มีความเหมาะสำหรับการติดตั้งในตู้ controller ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ DIN rail และ ยึดน๊อต

การอ่านชื่อ Model

อีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า คือ ชื่อ Model เพราะถ้าเขียนผิดไปแม้แต่ตัวเดียว ก็จะได้อุปกรณ์ที่ผิดสเปคทันที เนื่องจากสเปคของ Model แต่ละรุ่นของยี่ห้อต่างๆก็จะแตกต่างกันออกไป โดยผู้ผลิตจะมีการแจ้งรายละเอียดให้ไว้อยู่แล้ว หรือถ้าไม่แน่ใจก็สามารถสอบถามกับตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าได้โดยตรง 

อย่าลืมว่า “ความปลอดภัย” เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นข้อแรกเสมอในการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นตัวเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ เบรกเกอร์ลูกย่อย ตัวปลั๊ก หรือแม้แต่การเลือกขนาดเบรกเกอร์กับสายไฟ ควรเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตด้วยวัสดุมีมาตรฐาน แหล่งผลิตและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์มีชื่อเสียง รวมไปถึงตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ เพื่อจะได้มั่นใจถึงความปลอดภัยในการใช้งาน และช่วยปกป้องอุบัติภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดได้จากระบบวงจรไฟฟ้า ช่วยผ่อนจากหนักให้เป็นเบา หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลยหากเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ติดตั้งระบบถูกต้อง และใช้งานอย่างถูกวิธี