กฏ Must Have  Must Carry คืออะไร

ช่วงนี้เริ่มจะได้ยิน กฏ Must Have – Must Carry กลับมาอีกแล้ว หลังจากที่เคยสร้างความป่วน ทำให้คนไทยเกือบไม่ได้รับชมถ่ายทอดฟุตบอลโลกปี 2018 ที่จัดขึ้นในประเทศรัสเซีย และล่าสุดที่คนไทยต้องลุ้นกันจนหืดขึ้นคอ กับกับการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก ปี 2022 (FIFA) 

กฏ 2 must นี้ ล้วนแต่มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับบริการและสามารถเข้าถึงเนื้อหารายการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาค แม้ว่าจะค่อนข้างกระทบกับผู้ซื้อลิขสิทธิ์กีฬาอย่างถูกต้อง จนทำให้เคยมีคำถามที่ว่า ใครได้ผลประโยชน์อย่างแท้จริง? แต่จากผลที่ประชาชนคนไทยได้ดูการถ่ายทอดสดฟุตบอลฟรีที่ผ่านมา ก็อาจตอบได้ว่า ผู้ได้ประโยชน์หลัก ๆ ก็คือ ประชาชน 

แต่สำหรับในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่เขมรเป็นเจ้าภาพในปีนี้ และรอเวลานับถอยหลังในเดือนเมษายนที่ใกล้เข้ามาทุกที คนไทยส่วนใหญ่กลับเรียกร้องให้ กสทช. และ กกท.ไม่ซื้อลิขสิทธิ์ และพร้อมใจกันแบนรายการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาจากทางเขมร เพราะรู้สึกเสียเปรียบ และไม่เป็นธรรม เพราะประเทศไทยถูกเรียกค่าลิขสิทธิ์ที่แพงมากเกินไป เหมือนดั่งโดน ปล้น! ทำให้เสียงคนไทยแทบทั้งประเทศลงความเห็นว่า ไม่ซื้อ ไม่ดู ไม่ตาย เพราะถ้าต้องนำภาษีของคนไทยและเงินของประเทศไปให้กับการดูกีฬาพื้นบ้านที่เขมรเล่นแปลงและเปลี่ยนประเภทกีฬาที่ใช้ในการแข่งขัน จนแทบจะไม่เป็นกีฬาสากล สู้นำเงินภาษีของทุกคนและเงินของชาติไปทุ่มทุนในกีฬาโอลิมปิก หรือนำมาพัฒนาด้านอื่น ๆ ในประเทศยังดีกว่า ในระหว่างที่เรารอลุ้นกันว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไร มาทำความรู้จัก กฏ Must Have Must Carry คืออะไร กันไปพลาง ๆ ดีกว่าค่ะ 

กฏ Must Have คืออะไร  

Must Have กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ประกาศหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่อนุญาตให้เผยแพร่ได้เฉพาะทางฟรีทีวี ซึ่งได้มีการประกาศกฏนี้ออกมาเมื่อ พ.ศ.2555 ก่อนฟุตบอลโลก 2014 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ให้คนไทยสามารถได้เข้าถึงและรับชมรายการโทรทัศน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งกำหนดรายการทีวีที่สำคัญ ๆ ให้ออกอากาศได้เฉพาะฟรีทีวีเท่านั้น โดยสมาชิกเครือข่ายช่องทางอื่น ๆ เช่น ทรูทีวี เคเบิลทีวี หรือ CTH ก็จะได้รับชมผ่านช่องฟรีทีวีเช่นเดียวกัน 

รายการประเภทใดบ้างที่ต้องถ่ายทอดผ่านเฉพาะทางช่องฟรีทีวี 

  • กีฬาซีเกมส์ (SEA Games) : การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games ) 
  • เอเซียนเกมส์ (Asian Games) : การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย 
  • อาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games) : การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการในกลุ่มอาเซียน
  • เอเชียพาราเกมส์ (Asian Para Games) : การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการในเอเชีย
  • พาราลิมปิก (Paralympic Games) : การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการหลายประเภททั่วโลก
  • โอลิมปิกเกมส์ (Olympic Games) : การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
  • ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup Final) : การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้า

สำหรับผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์รายการเกี่ยวกับกีฬาดังกล่าว จะต้องนำมาเผยแพร่ในประเทศ พร้อมกับปฏิบัติตามใต้การบังคับทางกฏหมาย และต้องแจ้งเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศให้ทราบถึงข้อกฏระเบียบดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมา

Must Carry คืออะไร

Must Carry กสทช ประกาศระเบียบการเผยแพร่กิจการทางโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไป โดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. จะต้องนำรายการในช่องทางฟรีทีวีไปออกอากาศและออนทุกแพลตฟอร์ม ทั้งทางเสาอากาศ จานดาวเทียม เคเบิลทีวี รวมถึงทางออนไลน์ โดยห้ามเพิกเฉย และ ห้ามจอดำ 

นอกจากนี้ ยังมีการออกหลักเณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการแข่งขันกีฬาสำคัญ โดยกำหนดให้ผู้ได้รับสทิธการถ่ายทอดสด 7 กีฬาสำคัญ ดังนี้ 

  • การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก 
  • การแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 
  • การแข่งขันเทนเนิสเดวิสคัพ
  • การแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก 
  • การแข่งขันวอลเลย์บอลระดับชิงแชมป์โลก 
  • การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก และฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 
  • การแข่งขันเอเชียนคัพรอบสุดท้าย และรอบที่มีทีมชาติไทยร่วมแข่งขัน

โดยจะต้องไม่มีการผูกขาดหรือจำกัดการแข่งขัน และค่าตอบแทนต้องสมเหตุสมผล และถ่ายทอดการแข่งขันในนัดที่มีนักกีฬาไทยแข่งขันด้วย 

Must Have และ Must Carry ทำงานอย่างไร

ทั้งกฏ Must Have และ Must Carry มีผลบังคับใช้กับกิจการโทรทัศน์และรายการที่เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่ กสทช. ได้กำหนดไว้ เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ตามกฏ Must Have คือ จะต้องมีการถ่ายทอดในสดทางฟรีทีวี ไม่มีการผูกขาดบนช่องทางดาวเทียม หรือ ทีวีรับสมาชิก หรือ Pay TV และปฏิบัตตามกฏ Must Carry คือ จะต้องมีการถ่ายทอดสดในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการออกอากาศ เสาโทรทัศน์ ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี รวมไปถึงการถ่ายทอดทีวีทางออนไลน์ ระบบ Over The Top โดยห้ามจอดำ และห้ามตัดสัญญาณออกอากาศ  

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราประชาชนคนไทยหวังว่าผลสรุปที่ได้จาก กสทช. และ กกท. สำหรับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่เขมรเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จะออกมาเป็นผลดีต่อประชาชนในประเทศไทยมากกว่าเพียงแค่ผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น